"Sometime, the hating has to stop" ประโยคสุดท้ายของตัวอย่างหนังที่เพิ่งปล่อยออกมาของ The Railway Man มันอาจจะเป็นคำพูด บทสรุปที่หนังต้องการสื่อออกมา แต่ระหว่างทางนั้น กว่าจะถึงจุดนี้ได้ กว่าจะยอมรับและให้อภัยได้ มันต้องมีเรื่องราวระหว่างนั้นแน่นอน
ไม่ได้มารีวิว เพราะยังไม่ได้ดู ตอนนี้เห็นแค่ตัวอย่างหนังและการค้นหาข้อมูลในกูเกิ้ลเท่านั้น...เนื้อหาในนี้เป็นการอ่านถอดความมาจากบทความจาก ตปท บ้างและ มโนเองบ้าง อย่าซีเรียส.
หนังเรื่องนี้ เป็นมุมมองอีกมุมหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่2 สร้างจากเรื่องจริงของนายทหารสหราชอาณาจักร "เอริค โลแม็กซ์" เขาตกเป็นเชลยของสงครามหลังจากนั้นก็ถูกเกณฑ์มายังไทยเพื่อเป็นแรงงานในการสร้างทางรถไฟสายมรณะ (ณ จุดนี้คนไทยคงรู้ดีว่าทางรถไฟสายนี้มันอยู่ตรงไหน) การตกเป็นเชลยสงครามมันเป็นบาดแผลที่ลึกที่สุดในใจของเอริค เพราะสภาพความเป็นอยู่ในค่ายเชลยมันมีแต่ความหดหู่ ทารุณและโหดเหี้ยมของทหารญี่ปุ่น โดยเฉพาะทหารคนที่มีหน้าที่เป็นล่ามขณะที่เขาโดนสอบสวน "ทาเคชิ นากาเซ" เอริคถูกนายทหารคนนี้ทรมาน จนมันกลายเป็นฝันร้ายที่ยากจะเยียวยา (สถานการณ์นี้ ถ้าเอริค ได้พบกับโกโบริก็คงไม่ฝันร้ายขนาดนี้ หรือไม่ก็ถ้าได้เจอกับคุณบุญผ่อง ก็น่าจะดีกว่านี้)
แต่ใครจะรู้ว่าหลังจากที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามและเอริคได้กลับบ้าน หลังจากนั้นอีกเกือบห้าสิบสิบปีต่อมา คน 2 คน ที่เคยเป็นเหมือนศัตรูกัน จะได้กลับมาเจอกันอีก ถ้าอิงตามหนังสือแล้ว การเจอกันของทั้งคนอาจจะไม่ดราม่าเท่าในตัวอย่างหนัง จากที่เคยอ่านบทความ ภรรยาของเอริคเป็นคนเขียนจดหมายไปหานากาเซ ที่ญี่ปุ่น จากนั้นก็นัดเจอกันที่ไทย ณ พิพิธภัณฑ์สงคราม สะพานข้ามแม่น้ำแคว การพบกันของทั้ง 2 ได้ถูกทำเป็นสารคดีเรื่อง "Enemy, My friend?" ในปี 1995 ซึ่งการที่ได้พบกันของทั้ง 2 คนนั้น มันเหมือนเป็นการปลอดปล่อยความเคียดแค้นและเกียจชัง รวมถึงความคิดที่อยากจะทำร้ายอีกฝ่ายของเอริคจนหมดสิ้น เอริค สามารถให้อภัยเขาได้อย่างจริงใจ และยังกลับมาเป็นเพื่อนกับคนที่เคยทำร้ายเขาได้ด้วย หลังจากที่ทั้ง 2 คนได้พูดคุยกันและยอมรับกันในฐานะเพื่อน
ถึงตรงนี้ อาจจะกระโดนข้ามไปเยอะสักหน่อย แต่ต้องถามว่าถ้าเราเป็นเอริค เราจะสามารถใช้คำว่าเพื่อนกับคนอย่างนากาเซ ได้อีกเหรอ? ยกตัวอย่างเรื่องของเราเอง ทะเลาะกับคนที่ทำงาน นี่แค่การทะเลาะนะ คนนั้นพูดจาไม่ดีกับเรา เราโกธรและโมโหมาก ถึงขั้นเลิกพูดกันไปเลย สาเหตุฟังดูขี้หมูขี้หมามาก แต่เราก็ไม่อยากจะพูดกับคนนั้นอีกแล้ว ยิ่งคิดก็ยิ่งโมโห นี่คือตัวเรา เรื่องแค่นี้ยังฝังใจ ยิ่งเขาไม่รู้จักคำว่าขอโทษเราก็คงจบแค่นี้ไม่สามารถให้อภัยได้กับคนอย่างนี้ แล้วถ้าเปรียบเที่ยบกับสงครามหละ ความโหดร้าย ทารุณของทหารที่ญี่ปุ่นที่ทำต่อทหารฝ่ายตรงข้าม มันจะเป็นความแค้นสะสมขนาดไหน? คงเจ็บใจและเคียดแค้นกว่าการทะเลาะกันด้วยเรื่องขี้หมูขี้หมาแบบของเราหลายเท่า และกว่าจะลืมก็คงต้องใช้เวลาตลอดชีวิต เพราะสงครามมันสร้างบาดแผลที่เปรียบเสมือนแผลที่ไม่มีวันหาย แต่ทำไมเอริคถึงอยากกลับมาเจอคนคนนี้พอรู้ว่าเขายังมีชีวิตอยู่ เขาเคยเกียจชังคนญี่ปุ่นถึงขั้นถ้าเจอที่ร้านอาหารเขาก็จะเดินออกจากร้านนั้นทันที แต่วันที่เขาได้พบเจอกับนากาเซที่กาญจนบุรี มันทำให้เอริครู้ว่าไม่ใช่เพียงเขาที่ถูกหลอกหลอนโดยประสบการณ์อันเลวร้าย แต่นากาเซเองก็ไม่ต่างกัน ชายญี่ปุ่นคนที่เขาเกียจชังที่สุด พร้ำบอกเขาว่าขอโทษ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ตอนแรกเอริคก็ยังไม่สามารถทำใจได้ จนเวลาผ่านไป 3 วันที่พวกเขาได้กลับมาที่ไทยด้วยกัน ที่ทางรถไฟสายมรณะ เอริคเหมือนใช้เวลาตั้งสติและไตร่ตรอง จนในที่สุดเขาก็บอกกับนากาเซว่าเขาให้อภัย กับเรื่องร้ายที่ผ่านมาและสามารถเป็นเพื่อนกันได้ เรื่องราวฝันร้ายจบลง ณ จุดนี้ คนผิดที่รู้ว่าตัวเองผิดอย่างนากาเซ ก็สมควรได้รับการให้อภัย ถ้าเลือกได้ มองย้อนกลับไปเขาก็คงไม่อยากทำร้ายเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน (มั๊ง?) ส่วนเอริค ต้องยอมรับในน้ำใจและความกล้าหาญ เรื่องราวที่แสนจะทรมาณหลอกหลอนเขามาหลายสิบปี แต่เขาก็คิดได้ในที่สุดและสามารถให้อภัยนากาเซได้ด้วยจิตใจที่ยิ่งใหญ่ การปล่อยวางเป็นคำพูดที่พูดง่ายแต่ถ้าจะให้ทำ น้อยคนนักที่จะทำได้ เอริคก้าวข้ามผ่านพ้นจุดนั้นมาได้ในที่สุด นากาเซนั้นเสียชีวิตเมื่อปี 2011 ส่วนเอริค เพิ่งจะเสียชีวิตเมื่อปี 2012 อายุของเขาคือ 93 ปี
อันนี้นอกเรื่อง...สำหรับทาเคชิ นากาเซ ล่ามญี่ปุ่นคนนี้ ถ้าใครเคยไปเที่ยวกาญจนบุรี และได้ไปพิพิธภัณฑ์สงครามที่วัดไชยชุมพล (วัดใต้) หรือได้มีโอกาสนั่งเรือผ่านวัดนี้ ก็จะเห็นรูปปั้นของเขายืนอยู่ริมแม่น้ำ ถ้าจำไม่ผิด เขาเป็นคนบริจาคเงินเพื่อทำพิพิธภัณฑ์นี้ และเขาคนนี้ยังมีมูลนิธิให้ทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนใน จ.กาญจนบุรีด้วย การช่วยเหลือสังคมหรือทำประโยชน์พวกนี้อาจจะเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เขารู้สึกคลายความทุกข์และความรู้สึกผิดในใจของเขาให้น้อยลงก็เป็นได้
และขอพูดถึงรถไฟไทยหน่อย...งานนี้รถไฟไทยคงดังระเบิดไปทั่วโลกเพราะได้เข้าฉากกับนักแสดงระดับออสการ์! ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศแรกใจกลุ่มเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีรถไฟใช้ เรามีรถไฟมาตั้งสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ตั้งนั้นมารถไฟก็ไม่ได้รับการพัฒนาที่ต่อเนื่องอีกเลย เป็นบุญของป๋าเฟิร์ธมากที่มาถ่ายทำในช่วงที่ไม่มีข่าวรถไฟตกราง ไม่เหมือนทุกวันนี้ที่ขยันตกรางจริงๆ ไม่งั้นป๋าแกคงเสียวตายเลย แถมรถไฟที่ป๋าต้องนั่ง เป็นทางรถไฟสายมรณะซะด้วย แค่ทางตรงสถานีถ้ำกระแซ ที่เป็นเหวก็เสียวสุดใจละ เคยไปเดินครั้งนึง บอกตรงๆว่าเกือบเอาตัวไม่รอด! เป็นห่วงความปลอดภัยป๋าสุดๆ
และขอพูดถึงรถไฟไทยหน่อย...งานนี้รถไฟไทยคงดังระเบิดไปทั่วโลกเพราะได้เข้าฉากกับนักแสดงระดับออสการ์! ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศแรกใจกลุ่มเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีรถไฟใช้ เรามีรถไฟมาตั้งสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ตั้งนั้นมารถไฟก็ไม่ได้รับการพัฒนาที่ต่อเนื่องอีกเลย เป็นบุญของป๋าเฟิร์ธมากที่มาถ่ายทำในช่วงที่ไม่มีข่าวรถไฟตกราง ไม่เหมือนทุกวันนี้ที่ขยันตกรางจริงๆ ไม่งั้นป๋าแกคงเสียวตายเลย แถมรถไฟที่ป๋าต้องนั่ง เป็นทางรถไฟสายมรณะซะด้วย แค่ทางตรงสถานีถ้ำกระแซ ที่เป็นเหวก็เสียวสุดใจละ เคยไปเดินครั้งนึง บอกตรงๆว่าเกือบเอาตัวไม่รอด! เป็นห่วงความปลอดภัยป๋าสุดๆ
วกเข้าเรื่องหนัง ได้อ่านรีวิวจากหลายที่ มีทั้งดีและไม่ดีปนกันไป บางคนก็บอกว่าหนังเหนือยเกินไป ดูแล้วอืดเอือย จุดและปมต่างๆมันยังไม่สมูท แบบว่าที่มาที่ไปไม่ชัดเจนบ้าง ไม่ต่อเนื่องบ้าง ไม่น่าติดตาม นานาจิตัง แต่สำหรับคนที่เห็นด้วย ดูแล้วชอบก็บอกว่าดี ดูแล้วรูสึกอินไปกับหนัง ได้อารมณ์ สะเทือนใจ อบอุ่นใจ ต่างๆนานาๆ แต่ที่แน่ๆ ได้อ่านหลายเสียง ส่วนใหญ่ชมว่าช่วงท้ายของเรื่องคือส่วนที่ดีที่สุด จบได้ดี เป็นบทสรุปที่สวยงามตามคาดของหนัง...นี่พูดถึงแค่ภาพรวมของหนังนะ แต่สำหรับฝีมือการแสดง คงไม่ต้องเอื้อนเอ่ยอะไรออกไปมาก แค่เอ่ยชื่อ คอลิน เฟิร์ธ และนิโคล คิดแมน ออกไปเบาๆ มันก็ทำให้หนังน่าดูอยู่แล้ว ทั้งเฟิร์ธและคิดแมน คงเป็นแม่เหล็กได้ในระดับหนึ่ง พลังการแสดงของทั้งสองคนนี้ หลังจากที่ได้อ่านรีวิว บางเสียงบอกว่านิโคลน่าจะได้มีโอกาสลุ้นในช่วงอวอร์ดซีซั่น บางเสียงก็บอกว่าป๋าเฟิร์ธ ก็สุดยอดอยู่นะ อาจจะมีลุ้นในช่วงท้ายปีเช่นกัน! แน่นอนอยู่แล้วเพราะป๋าแสดงนำนี่! หนุนหลังป๋าเต็มที่ ขนาดดูแค่ภาพที่ปล่อยออกมา ตัวอย่างที่ปล่อยออกมา รู้สึกว่าพลังการแสดงมันสุดยอดมาก! *อารมณ์เข้าข้างสุดๆ หูบอดตาบอด เห็นอะไรก็ดี ขนาดหายใจผิดจังหวะ กูยังว่าดี* ซีนอารมณ์หลายๆฉากที่ปล่อยออกมา ถ่ายทำในไทย โดยเฉพาะซีนที่ต้องปะทะกับ ฮิโรยูกิ ซานาดะ สำหรับเราถือว่ามันน่าจะเป็นจุดพีคของหนัง *มโนเอง* ภาพรวมการแสดงจากที่ได้อ่านรีวิว ต้องบอกว่าทุกคนได้รับคำชม และที่น่าชื่นชมก็คือนักแสดงญี่ปุ่นทั้ง ฮิโรยูกิ ซานาดะ และ แทนโระ อิซิดะ (ไม่รู้อ่านถูกป่าว?) ได้รับคำชมว่าถ่ายทอดอารมณ์ตัวละครออกมาได้ดีแถมเล่นเข้าขากันได้แนบเนียน!
สำหรับนักแสดง
เอริค โลแม็กซ์ (อิริค เขียนยังไงดี?) รับบทโดย ป๋า คอลิน เฟิร์ธ เรื่องนี้ป๋ามาถ่ายทำที่ไทย ราววันที่ 5-6 มิถุนายน 2555 ที่กาญจนบุรี ณ สะพานข้ามแม่น้ำแคว สุสานทหารสัมพันธมิตร และช่องเขาขาด จากนั้นก็มาเยี่ยมกองถ่ายที่กรุงเทพ สถานีรถไฟบางซื่อ!(อารมณ์เหมือน Finding Colin Firth แต่ไม่เจอ ฮ่ะ!) อย่าให้พูดถึงป๋ามากเลย เดี๋ยวจะกลายเป็นอวยกันซะเปล่าๆ (มาย ไอดอล!) แค่ดูการแสดงอันทรงพลังจากตัวอย่างก็น่าจะเห็นว่าป๋าทุ่มทุนขนาดไหน *อวยมาก*
เอริค ตอนหนุ่ม รับบทโดย เจเรมี เออร์วีน (War Horse) บอกตรงๆว่าหน้าตาเจเรมี่นี่คล้ายเอริคตัวจริงตอนหนุ่มๆมาก ในเรื่องนี้ เจเรมี่ ต้องฝึกสำเนียงการพูดเพื่อให้ใกล้เคียงป๋าเฟิร์ธ นี่อาจจะเป็นงานหนักสุดของเขาในหนังเรื่องนี้ก็ได้ ส่วนเรื่องหน้าตาความละม้ายคลายคลึงป๋านั้น นับว่าคนละชั้น ไม่ต้องพูดว่าใครดูดีกว่ากัน....เห้อ!
แพทตี้ โลแม็กซ์ (ภรรยาเอริค) รับบทโดย นิโคล คิดแมน โดยป๋าเฟิร์ธเป็นคนโน้มน้าว ชักจูงให้เธอมารับบทเป็นภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากของเขาด้วยตัวเอง แหม่! เรื่องนี้นางก็มาไทยกับสามีในเรื่อง เธอบอกว่าเธอสนุกกับการรับบทเป็นภรรยาของป๋าเฟิร์ธ โดยเฉพาะการที่ได้เต้นรำกับป๋า! แหม่! แต่ดูจากฉากในตัวอย่างแล้วน่าจะมีฉากอื่นสนุกกว่าการเต้นรำ ฮึ่ม!
ทาเคชิ นากาเซ รับบทโดย ฮิโรยูกิ ซานาดะ หลายคนอาจจะคุ้นตากับตาคนนี้ เขาเพิ่งผ่านตาผู้ชมหลายๆคนมาจากหนังเรื่อง The Wolverine ซานาดะ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นตัวพ่อในวงการหนังญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ เขาบอกว่า พอได้รับการติดต่อมาจากทีมงานรถไฟ เขาก็ตัดสินใจรับบททันทีโดยไม่ต้องคิดมาก เขาบอกว่ามันเป็นหน้าที่เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้เยาวชนและคนญี่ปุ่นได้เห็นถึงสิ่งที่ผิดพลาดในอดีตของชาติเขาเอง แหม่! ยกนิ้ว! ถึงในจอจะดราม่ากับป๋าเฟิร์ธ แต่ด้วยวัยเดียวกันนอกจอ ฮิโรยูกิบอกว่า คุยกันถูกคอกับป๋าเฟิร์ธ มันเหมือนมี special chemistry something....อัยย่ะ!
ทาเคชิ นากาเซ (ตอนหนุ่ม) รับบทโดย แทนโระ อิซิดะ หนุ่มคนนี้ ฮา ตอนที่ Q and A ที่ TIFF คำถามจำไม่ได้แต่แกตอบคำถามนั้นว่า แกอยากเป็นลูกชายของฮิโรยูกิ ซานาดะ ในชีวิตจริง ฮ่ะ! เล่นเอาตัวพ่อญี่ปุ่นถึงกับยิ้ม!
ฟินเลย์ (เพื่อนของเอริค) รับบทโดย สแตนเลน สการ์การ์ด และ แซม ริด ประโยคที่ได้ฟังในตัวอย่างหนังจากปากฟินเลย์คือ "War leaves mark....." อ่า.....คีย์เวิร์ด!
ผู้กำกับเป็นชาวออสซี่ "โจนาธาน เทปลิทซ์กี" โดยแท้ พอมองย้อนมาตรงนี้ ก็ทำให้นึกถึง ทอม ฮูเปอร์ ลูกครึ่งออสเตรเลียที่ส่งป๋าเฟิร์ธ จนไปถึงเวทีออสการ์ ตอนนี้มีความคาดหวังอยู่ลึกว่าๆว่านายโจนาธานคนนี้จะส่งป๋าไปถึงจุดนั้นด้วยเช่นกัน *เป็๋นความหวังที่ลึกมาก* คะแนน IMDB ตอนนี้อยู่ที่ 7.7 จากคนโหวต 101 คน.....งานนี้คงมีแผ่วปลาย.....กำ!
สถานการณ์ปัจจุบันของหนังเรื่องนี้ หลังจากที่เข้าฉายที่เทศกาลหนังนานาชาติโตรอนโต นอกเรื่องนิดนึง ป๋าเฟิร์ธนี่เป็นขาประจำของงานนี้เลยก็ได้ ตั้งแต่ติดตามผลงานป๋าแกมา เทศกาลนี้ป๋าไม่เคยพลาดสักปี แถมช่วงการจัดงาน ยังเป็นช่วงวันเกิดช่วงป๋าด้วย (10/09/1960) HAPPY BIRTHDAY COLIN! ซึ่งปีนี้ป๋าก็ได้มาเปิดตัวหนังถึง 2 เรื่อง! มีหนังแนวสืบสวนสอบสวนอีกเรื่องนึงชื่อ Devil's Knot ของผู้กำกับ อะตอม อีโกยาน ซึ่งเคยร่วมงานกันแล้วครั้ง Where the Truth lies วกกลับมาขึ้นรถไฟ กระแสของผู้ชมหลังจากดูรอบปฐมทัศน์ มีเสียงตอบรับที่ดี มีการลุกขึ้นปรบมือหลังจากหนังจบ บางคนถึงกลับกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ *คงอินมาก* กระแสนี้เลยทำให้ ฮาร์วีย์ ไวน์สตีน เจ้าพ่อแห่งค่ายไวน์สตีนคอมพานี ตัดสินใจที่จะเป็นตัวแทนจัดฉายหนังเรื่องนี้ในอเมริกา โดยเฮียแกคอมเม้นท์ว่า "ด้วยการแสดงที่ยอดเยี่ยมของ คอลิน เฟิร์ธ, นิโคล คิดแมน, เจเรมี่ เออร์วีน รวมถึง ฝีมือของโจนาธานที่รังสรรค์ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกมาจากเรื่องจริงอันน่าทึ่งของนายทหารสหราชอาณาจักรนาม เอริค โลแม็กซ์ ที่ต้องตกเป็นเชลยสงครามในสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากที่ผมได้เห็นคนดูลุกขึ้นปรบมืออย่างยินดี บางคนถึงกลับร้องไห้ เรา(พูดในฐานะตัวแทนบริษัทฯ)รู้เลยว่าหนังเรื่องนี้คือหนังที่เราต้องช่วยเหลือ(จัดจำหน่าย)ให้ถึงสายตาผู้ชมในอเมริกา" จากตรงนี้สรุปได้ว่า ลิขสิทธิ์การจัดจำหน่ายในอเมริกาคงตกเป็นของไวน์สตีนคอมพานี ซึ่งไม่แปลกใจนักที่ฮาร์วีย์จะเลือกซื้อหนังของเฟิร์ธ ทั้งสองคนนี้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมานานหลายสิบปี ฮาร์วีย์ เป็นอีกหนึ่งคนที่ช่วยผลักดันเฟิร์ธไปสู่เวทีออสการ์ บางคนอาจมองว่าฮาร์วีย์เป็นนักล็อบบี้ระดับฮอลีวูด เพราะฮาร์วีย์เป็นคนที่ถูกเอ่ยชื่อบ่อยครั้งบนเวทีออสการ์ แต่จริงๆแล้ว ในส่วนตัวคิดว่าเขาเป็นคนมองเกมส์ขาด! เขารู้ว่าเขาควรจะสนับสนุนใคร สังเกตุจากหนังของค่ายนี้ ส่วนมากจะเป็นหนังที่มีใบไม้แปะอยู่ที่ปก อาจจะไม่ใช่หนังกระแสในวงกว้างแต่สำหรับคอหนังคงไม่มีใครไม่รู้จักหนังจากค่ายนี้
No comments:
Post a Comment